หลายๆคนมีเป้าหมายที่อยากจะทำให้สำเร็จ แต่หลายครั้งได้แค่ plan ไว้ซึ่งสุดท้ายเป้าหมายนั้นก็ไม่สำเร็จสักที วันนี้เราขอแนะนำ OKR ว่าเจ้า OKR คืออะไร ใช้ยังไง วัดผลยังไง แล้วทำให้เป้าหมายเราสำเร็จยังไงบ้าง เดี๋ยวจะเริ่มเล่าจากการปรับใช้ในองค์กร จนถึงการใช้กับเป้าหมายส่วนตัวของตัวเองในชีวิตประจำวันนะคะ มาดูกันเลย

Note: หากต้องการฟัง Podcast เรื่อง OKR คลิกลิงก์ด้านล่างสุด

OKR คืออะไร

OKR ย่อมาจาก Objective and Key Results คือ เครื่องมือในการตั้งเป้าหมายและกำหนดตัววัดผล ซึ่งหลายๆ บริษัทนำไปปรับใช้ ส่วนมากจะเป็น Start up ในบทความนี้อธิบายง่ายๆ และจะพูดในแง่ของบริษัท พร้อมทั้งยกตัวอย่างการตั้งเป้าหมายส่วนบุคคลโดยใช้ OKR ในส่วนสุดท้าย

ส่วนประกอบ OKR คือ

O = objective

KR = key result

  • ซึ่ง OKR ที่จะวัดเป้าหมาย จะต้องเริ่มจากมีเป้าหมายที่ชัดเจน  มีกรอบเวลา ทามไลน์ ที่ ประเมินผลได้ และต้องโปร่งใส (คนอื่นๆ ในองค์กรเห็นได้แต่ละทีมเห็นความคืบหน้าไปด้วยกันได้) อัปเดทความคืบหน้าบ่อย เช่น เป้าหมายคือรายเดือนหรือไตรมาส แต่อัปเดทความสำเร็จทุกสิ้นสัปดาห์ และเป้าหมาย สามารถเปลี่ยนได้ระหว่างทางไปความสำเร็จ

OKR ต่างกับ KPI ยังไง?

  • OKR = Objective and Key Results

เป็นเครื่องมือในการตั้งเป้าหมายพร้อมกับการกำหนดตัววัดผล

  • KPI = Key Performance Indicator

คือเครื่องมือวัดความสำเร็จ

OKR คือการตั้งเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้อยากบรรลุ มากกว่าตั้งเพื่อวัดแต่ผลสำเร็จอย่างเดียว OKR จะ  ตั้งเป้าหมายสูงไว้ก่อน และพยายามผลักดัน แบบคิดว่าจะต้องพยายามเพื่อเอาชนะมัน ทำให้ได้ เป็นไปได้ ที่ตั้งเป้าหมายไว้สูงก่อนนั้น มันอาจจะไม่ achieve หรือสำเร็จ 100% แต่อย่างน้อยก็ทำจนสุดความสามารถแล้ว และ OKR ไม่ได้เป็นตัววัดเรื่องผลตอบแทนส่วนบุคคลเหมือนกับ KPI โดยที่ตัวการกำหนดเป้าหมาย OKR นั้นระดมมาจากคนในทีม รับรู้ทั่วกันแบบ Bottom-up ในขณะที่ KPI จะเป็นการคิดแบบ Top-down คือจากผู้บริหารวางมาเลย แล้วให้คนอื่นทำตาม โดยที่ไม่มีการถามว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับการวัดนี้

  • KPI ดูผลที่ตัวเลขความสำเร็จ ว่าถึงเป้าหมายไหม แบบต้องได้ 100% ตามที่ตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ based on ความเป็นจริงที่คาดว่าได้แน่ๆ แต่อาจจะไม่ได้สนในช่วงกระบวนการที่จะทำให้สำเร็จ หรือการพยายามผลักดันเท่ากับตัว OKR  ซึ่ง 100% ของ OKR คือคุณแบบเกินคาด เกินคำว่า impossible แล้ว เพราะปกติ ความสำเร็จใน OKR เกิน 70-80% คือค่อนข้างดีมากแล้ว เนื่องจากเป้าหมาย 100% ของ OKR จะเป็นแบบเวอร์เลยสูงมากเป้าหมายนี้ มันเกินปกติที่คาดว่าทำได้ และน้อยมากที่จะได้ 100% (แต่ถ้าได้เกินคือทำให้ความสำเร็จนั้นเกินคาด) และตัว KPI จะส่งผลโดยตรงกับผลตอบแทนของพนักงาน เหมือนผลงานได้ตามเป้า ส่วนมากจะวัดผลปีละครั้ง แตกต่างจาก OKR ที่วัดบ่อย ถี่ ทบทวนเป้าหมายระยะที่ถี่กว่า เห็นภาพทุกขณะที่อัปเดทความสำเร็จ (เช่นวัดแบบไตรมาส แต่อัปเดท ดูความคืบหน้ารายอาทิตย์)
  • ตัว OKR จะปรับเปลี่ยนได้เร็วกว่า มีความ flexible เช่น ตั้งเป้าไว้ 3 เดือน แต่เดือนครึ่งแล้ว ที่ทำอยู่มันยังไม่กระเตี้อง หรือวัดผลไม่ได้ คิดไปมาแล้ว ใช้เวลาค่อนข้างเยอะเกิน เสียเวลามากไป กระทบงานอื่นๆ ที่จะไป push ด้วย ดังนั้นประเมิณแล้ว ไม่น่าเหมาะแน่ๆ ก็ปรับได้เลย และวัดผลในข้อนั้นใหม่ โดยวัดในช่วงเวลาที่เหลืออยู่อีกครึ่งเดือนนี่แหละ

โดยรวม OKR เป็นการตั้งเป้าสูงมาก เพื่อที่จะช่วยกระตุ้นให้ทุกคนมีแรงฮึดให้เป้าหมายสำเร็จเป็นทีม แต่นั่นก็อาจจะมีบ้างที่องค์กรจะไม่บรรลุเป้าหมายตาม OKR ที่ตั้งไว้แบบ 100% แต่สิ่งที่ได้คือมันจะนำมาซึ่งการวิเคราะห์ ปรับปรุง และพุ่งชนเป้าหมายต่อๆ ไปได้อย่างมีพลังขึ้น เช่นในไตรมาสต่อไป รู้ละต้องปรับอะไร เวลาเห็นอะไรเป็นปัญหา และคิดว่ามันน่าจะแก้ได้ ทำได้ดีขึ้น ก็เอาไปตั้งเป็น OKR ของครั้งต่อไปได้ และหัวใจสำคัญของ OKR อาจเป็นการที่ทุกคนเข้าใจเป้าหมายที่ตรงกัน และรู้ภาระกิจของตัวเองอย่างชัดเจนและพร้อมที่จะช่วยผลักดันการทำงานของแต่ละส่วนให้ดีที่สุด และเมื่อทุกคนรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดีที่สุด บรรลุเป้าหมายที่ตัวเองได้ตั้งไว้ แน่นอนว่าพลังของทุกส่วนก็จะช่วยให้องค์กรบรรลุสู่ความสำเร็จได้ไม่ยากเช่นกัน

OKR คืออะไร ใช้ยังไง วัดผลยังไง เหมาะกับใคร

ใครใช้ OKR บ้าง?

OKR นี้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1970 โดยผู้ที่คิดค้นขึ้นมาก็คือ Andrew Grove ประธานคณะกรรมการบริหารของหนึ่งในยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของโลกอย่าง Intel (Intel Corporation) 

Google เองก็ใช้วิธีตั้งเป้าหมายและวัดผลความสำเร็จแบบ  OKR  พยายามให้พนักงานมีเป้าหมาย เข้าใจในเป้าหมายเดียวกัน และเห็นความสำเร็จหรือการทำงานเพื่อความสำเร็จนั้นได้ ซึ่งส่งผลไปทั้งองค์กร

OKR วัดผลยังไง?

OKR จะวัดผลได้ ต้องเริ่มจากมีเป้าหมายที่ชัดเจน จับต้องได้ ต้องทำให้ไม่ง่ายเกินไป ไม่ยากเกินไป แต่เป็นสิ่งที่คิดว่าทำได้ ตัวเองจะชนะได้ ถ้ายากเกินไป อาจจะท้อ และรวนหมดซึ่ง O (Objective) จะมีกี่อันก็ได้ แต่มันต้องดูว่าสำคัญจริงๆ กับสิ่งที่เราต้องการจะทำ และหา KR (Key result) มาประมาณ 3-5 ข้อที่จะผลักดัน O ได้

เราตั้งเป้าหมายว่า อยากให้ ได้ 100% ไว้ก่อนแหละ  คอยอัปเดทสิ่งที่ทำสำเร็จทุกอาทิตย์ เพื่อให้เห็นความสำเร็จทีละเล็กๆน้อยๆ ในทุกอาทิตย์ ไม่หลุดจากเป้าหมายใหญ่  และเราจะ push มากขึ้นถ้าเห็นว่าความสำเร็จมันยังเดินช้าอยู่  ในตอนวัดผลสุดท้ายจะได้  achieve ซึ่งส่วนใหญ่เกิน 70% คือเยี่ยมแหละ แต่นี่คิดว่า 80% ไปเลย

ตัวอย่างการใช้ OKR กับองค์กรและเป้าหมายส่วนตัว

    • การวัดผลด้วย OKR จะต้องมีกรอบเวลาที่แน่ชัด และสามารถประเมินผลได้
      • เช่นตั้งวัดผลใน 1 ปี ก็แบ่งเป็น 12 เดือน หรือง่ายสุดเป็น Quarter
  • ตัวอย่าง ในองกรทั่วไป

        • เป้าหมาย revenue บริษัท หรือร้ายได้ ต้องได้ 2 เท่าจากปีที่แล้ว ทีนี้ก็ต้องมาดูว่า แต่ละฝ่าย แต่ละทีม จะทำอะไรได้บ้าง  ทุกๆ ทีมจะมี O อันเดียวกัน (ซึ่งมีหลาย O ได้ และแต่ละ O จะมี KR เผื่อผลัก O ให้สำเร็จ)
        • ทีมที่น่าจะเกี่ยวข้อง เช่น ทีมขาย , ทีมที่ติดต่อกับ Client และ ทีม operation (หลังบ้าน)  อย่างถ้าบอกว่า O = ยอดขายคูณสอง ดังนั้น O ของทีมขาย คือยอดขายคูณสอง และหา KR ของตัวเองเช่น หาลูกค้าเพิ่ม โดยอาจจะกำหนดว่าต้องเป็นได้ลูกค้ารายใหญ่ที่มีเงินเยอะกว่าเดิม เยอะในช่วง XXบาท ได้กี่ XX ราย   
        • ส่วน O ของ client facing team ก็คือ เรื่องเงิน คุณสองที่ต้องมี ดังนั้น KR อาจจะเป็นการรักษา retention rate ของลูกค้า เพราะลูกค้าที่ได้มา ถ้าออกหรือหลุด เงินหรือรายได้ของบริษัทก็หายไปด้วย  ซึ่งเห็นว่า KR ที่ผลักดันแต่ละทีมก็แตกต่างกัน แต่ O เดียวกัน เป้าหมายเดียวกัน 
        • ส่วนทีมopertation หรือทีมหลังบ้าน ถ้าบอกยอดขายคูณสอง อาจจะงง เพราะชั้นไม่ได้ขาย แต่อย่าลืมว่า ทุกฟันเฟืองในองค์กร การส่งงานให้ลูกค้า มันมีส่วนให้ลูกค้าประทับใจ จะอยู่หรือจะออกไปจากเรา ก็ขึ้นกับงานของทีมนี้เช่นเดียวกัน ดังนั้น KR ของ ทีมหลักบ้าน คือความพอใจ นั่นก็คือ ส่งมอบงานที่มีคุณภาพ เช่น ไม่มีการแก้งานหลักจากส่งงานให้ลูกค้า เลย หรือ ตั้งว่า มี 1% (จากที่เมื่อก่อนแก้เยอะเกือบทุกครั้ง) -> สิ่งนี้ก็ประยุกต์ทำให้ผลักดัน อยากทำงานให้ดีขึ้น
        • ดังนั้นถ้าภาพรวมองค์กรดี ทุกทีม และทุกคนในทีม เห็นเป้าหมายใหญ่เดียวกัน พยายามจะ ทำให้สำเร็จ ดังนั้น องกรณ์ก็ขับเคลื่อนไปได้ ขอเพิ่มเติมว่าหัวหน้าเองมีผลอย่างมากในการเฝ้ามองความสำเร็จ ดูปัญหาในกระบวนการต่างๆ มีการคุยกันในทีม หรือ 1-1 กับคนในทีม เพื่อให้ตัว OKR สะท้อนการทำงานหรือความพยายามของทีม 
  • OKR ที่ประยุกต์กับพวกเป้าหมายของตัวเอง

    • ตัวอย่าง ในเป้าหมายของตัวเองเช่นการลดน้ำหนัก 
      • 5 โล  ใน 6 เดือน = objective (goal)
        • แบ่งเป็น 3 เดือน 2.5โล ก็ได้ เพื่อวัดทีละ สามเดือน
        • มาดูว่ามีปัจจัยไรบ้างที่ทำให้ achieve เช่น การกิน การออกกำลังกาย
        • >> การกิน : กินคลีน ไม่มันเลย ไม่กินขนม กินของจากธรรมชาติ 1 วันต่ออาทิด เพราะฉะนั้น 1 เดือนจะต้องทำ 4 รวม 3 เดือน= 12 ครั้ง
          • พอเราทำได้ทุกครั้ง ก็มาอัพเดท ว่า 1 ครั้งจาก 12 คิดเป็น กี่% 
        • >>การออกกำลังกาย อาจจะแบ่งเป็น คาร์ดิโอ  และเวทเทรนนิ่ง ก็ได้
          • คาร์ดิโอ 3 วัน ต่ออาทิตย์, 1 เดือน 12 ครั้ง ,3 เดือน 36 ครั้ง
          • เวทเทรนนิ่งก็เช่นเดียวกัน
          • หรืออาจจะเพิ่มการออกกำลังกาย อื่นๆ เช่น โยคะ ว่ายน้ำ อาจจะใส่เป็น others เดือนละ 2 ครั้งก็ได้ เพราะงั้น 3 เดือน เท่ากับ 6 ครั้ง

สรุป OKR คืออะไร

OKR คือแยก O = objective เป้าหมาย  และ KR – key result คืออะไรที่ผลักดันเป้าหมายเรา แตกมาได้ 3-5 ข้อ เป้าหมายตั้งให้ยิ่งใหญ่ไปก่อนดู impossible แต่อย่าลืมว่าต้องวัดผลได้ พยายามหา KR มาวัด  มีทามไลน์ในการวัดชัดเจน  ซึ่งพยายามเคาะเป็นเลข หรืออะไรที่วัดออกมาได้ เป็นจำนวนครั้ง เป็นเปอร์เซ็น เพื่อที่ เวลาใกล้ครบทามไลน์ที่ตั้ง จะเห็นว่า เราทำไปแล้วกี่ % ต้องเกิน 70% ขึ้นไป ถือว่า achieve 

ซึ่งคนส่วนใหญ่พอตั้ง OKR ยังไงก็อยากให้ถึง 100% อยู่ดี ทำให้เราผลักดันตัวเองมากๆ มากว่าที่คิดว่าจะทำได้   และพอประเมินผลในระยะที่สั้นๆ ทุกคนจะปรับตัวได้เร็วและทัน และในความถี่การวัดผลนี้ ตัว OKR ก็มีความ flexible อันไหนทำแล้ว ลองแล้วไม่น่าเวิร์คเปลี่ยนได้  แต่ควรตั้งให้ชัดเจนตั้งแต่แรกว่าทำได้จริงวัดได้จริง  การเปลี่ยนมันทำได้ แต่ไม่ควรเปลี่ยน เพราะเราควรวางให้ชัดเจนตั้งแต่แรกแล้ว

หวังว่า OKR จะเป็น กุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนความสำเร็จของทุกๆ คนนะคะ อย่าลืมตั้งเป้าหมายและลองวัดผลกันดู หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกๆ คนนะคะ

ปล.ตัวอย่าง OKR ของเราเช่นเรื่องอยากเก่ง/ทำได้ใน Digital marketing ทุกคนสามารถดาวน์โหลด Template OKR นี้ได้ที่

ฟัง Merry Cheery’s Podcast

EP 1 : กำหนดและชนะเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้ ทำได้จริงด้วย OKR

?Spotify : https://spoti.fi/3l9YieK 

?Podbean :  

?Google: